The Swiss
Guard – สวิสการ์ด
เดิมเป็นทหารรับจ้างที่ขึ้นชื่อมาตั้งแต่ยุคกลางครับ ประวัติยาวนานกว่าทหารกุรข่าเยอะ จนกระทั่งไปสร้างวีรกรรมที่นครวาติกัน ทางวาติกันประทับใจมาก ก็เลยให้เป็นการ์ดในนครวาติกัน นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาวีรกรรมที่เด่นๆ ก็อันนี้ล่้ะครับ
ย้อนกลับไปในยุคกลาง
ย้อนกลับไปในยุคกลาง
สงครามในคาบสมุทรอิตาลีได้เริ่มขึ้นและเมื่อบรรดาทหารรับจ้างชาวสวิสได้ยินว่า พระเจ้าชาร์ลที่ 8 กษัตริย์ฝรั่งเศสวางแผนทำสงครามใหญ่กับเนเปิล พวกเขาก็รวมกลุ่มกันไปสมัครเข้าร่วมรบ จนกระทั่งถึงสิ้นปี ค.ศ.1494 กำลังนับพัน ๆ คนของพวกเขาก็รวมกันอยู่ในโรม โดยร่วมไปกับกองทัพฝรั่งเศส ในเดือนกุมภาพันธ์ ของปีถัดมา กองทัพฝรั่งเศสก็สามารถยึดครองเนเปิลได้สำเร็จ ในบรรดาผู้ที่ร่วมทัพในสงครามกับเนเปิลนั้น ได้รวมถึงพระคาดินัล กุยเลียโน เดลลา โรเวีย ผู้ซึ่งจะกลายเป็นสันตะปาปาจูเลียส ที่ 2 ในอนาคต พระองค์ค่อนข้างคุ้นเคยดีกับชาวสวิส เพราะยี่สิบปีก่อนหน้านั้น พระองค์เคยเป็นหนึ่งในบรรดาผู้สอนศาสนา ที่เข้าไปในดินแดนของชาวสวิสมาก่อน
( สันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 )
แม้ว่าจะได้รับชัยชนะ อย่างไรก็ตามสองสามเดือนหลังจากนั้น ขาร์ลที่ 8 ก็ถูกบีบให้ละทิ้งเนเปิล และต้องเร่งถอยทัพกลับฝรั่งเศส ทั้งนี้ในความเป็นจริงนั้น สันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่6 ได้ทรงลอบทำการติดต่อกับทาง มิลาน, เวนิช และจักรวรรดิเยอรมัน เพื่อรวมแนวต่อต้านการขยายตัวของฝรั่งเศส การปฏิบัติการรบของทหารสวิสในครั้งนั้นเป็นที่ประทับใจพระคาดินัล กุยเลียโนมาก และอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้พระองค์ทรงจ้างทหารสวิส เป็นทหารองครักษ์เมื่อพระองค์ขึ้นเป็นพระสันตะปาปาในเวลาต่อมา หลังจากมาประจำการที่วาติกันในปี ค.ศ. 1506 แล้ว ทหารองครักษ์สวิสได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเข้มแข็ง วีรกรรมครั้งสำคัญที่เป็นที่จารึกของพวกเขาก็คือ ตอนที่กองทหารรับจ้างสเปนบุกโจมตีกรุงโรม ในวันที่ 6 พฤษภาคม ปี ค.ศ. 1527
(จักรพรรดิชาร์ลที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมัน)
ในเวลานั้น จักรพรรดิชาร์ลที่5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศํกสิทธิ์ได้ทำสงครามกับเหล่าพันธมิตรแห่งคอนแนค (Connac Leaque) อันประกอบด้วย ฝรั่งเศส, มิลาน, เวนิซ, ฟลอเรนซ์ และรัฐสันตะปาปา ในตอนนั้น สันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7 ได้ให้การสนับสนุนฝ่ายฝรั่งเศสในความพยายามเปลี่ยนขั้วอำนาจในภาคพื้นยุโรปและต้องการปลดปล่อยรัฐสันตะปาปาจากการควบคุมของจักรวรรดิ ทว่าความพยายามนี้ไร้ผล พระเจ้าชาร์ลสามารถเอาชนะกองทัพของเหล่าพันธมิตรได้ แต่หลังสงคราม พระเจ้าชาร์ลไม่ได้จ่ายเงินให้กับกองทหารรับจ้างตามข้อตกลงทำให้พวกนั้นไม่พอใจ ดังนั้นทหารรับจ้างจำนวนสองหมื่นนายที่ชุมนุมพลอยู่ใกล้กรุงโรมจึงยกกำลังเข้าโจมตีกรุงโรม โดยละเมิดข้อตกลงที่ฝ่ายจักรวรรดิทำไว้กับทางโรมในตอนเช้าของวันที่ 6 พฤษภาคม ปี ค.ศ. 1527 กองทหารรับจ้างชาวสเปนจากกองบัญชาการบนเนินเขากีอานิโคโล ก็ยกกำลังเข้าโจมตีประตูทอริออนี (Torrione Gate) หลังจากการโจมตีอย่างดุเดือดกองทหารสเปนก็บุกฝ่าเข้าไปได้ สำเร็จ กำลังพลฝ่ายโรมแตกพ่ายยับเยิน หน่วยทหารองครักษ์สวิส ยืนรักษาที่มั่นอยู่ตรงเสาโอเบลิก (ปัจจุบันคือบริเวณจตุรัส เซนต์ปีเตอร์) ร่วมด้วยทหารชาวโรมจำนวนเล็กน้อย พวกเขายังคงยืนหยัดต้านทานแม้จะสิ้นหวัง หัวหน้าของทหารองครักษ์สวิส ชื่อ กัสปาร์ รอยส์ (Kaspar Röist) ได้รับบาดเจ็บระหว่างการต่อสู้และถูกฆ่าในที่พักทหารในเวลาต่อมา โดยทหารรับจ้างชาวสเปนต่อหน้าภรรยาของเขา พร้อมด้วยทหารสวิสอีก 189 นายที่พลีชีพในศึกครั้งนั้น มีเพียง 42 นายเท่านั้นที่รอดชีวิต กำลังส่วนหนึ่งที่รอดชีวิต ภายใต้การนำของ เฮอร์คิวลีส โกลด์ลี (Hercules Göldli) ได้คุ้มครอง สันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7 ล่าถอยไปตามเส้นทางลับที่สันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 เคยสร้างไว้ เส้นทางนี้เชื่อมระหว่าง วาติกันกับปราสาท เซนต์ เองเจโล (Castel Sant’Angelo) ซึ่งเป็นที่ที่สันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7 ไปลี้ภัยที่นั่น ในการปล้นสะดมครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิตกว่าหนึ่งหมื่นคน ทรัพย์สินถูกปล้นไปเป็นจำนวนมหาศาลรวมทั้งสุสานของอดีตพระสันตะปาปา ก็ยังถูกทำลายไปด้วย
แม้ว่าจะได้รับชัยชนะ อย่างไรก็ตามสองสามเดือนหลังจากนั้น ขาร์ลที่ 8 ก็ถูกบีบให้ละทิ้งเนเปิล และต้องเร่งถอยทัพกลับฝรั่งเศส ทั้งนี้ในความเป็นจริงนั้น สันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่6 ได้ทรงลอบทำการติดต่อกับทาง มิลาน, เวนิช และจักรวรรดิเยอรมัน เพื่อรวมแนวต่อต้านการขยายตัวของฝรั่งเศส การปฏิบัติการรบของทหารสวิสในครั้งนั้นเป็นที่ประทับใจพระคาดินัล กุยเลียโนมาก และอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้พระองค์ทรงจ้างทหารสวิส เป็นทหารองครักษ์เมื่อพระองค์ขึ้นเป็นพระสันตะปาปาในเวลาต่อมา หลังจากมาประจำการที่วาติกันในปี ค.ศ. 1506 แล้ว ทหารองครักษ์สวิสได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเข้มแข็ง วีรกรรมครั้งสำคัญที่เป็นที่จารึกของพวกเขาก็คือ ตอนที่กองทหารรับจ้างสเปนบุกโจมตีกรุงโรม ในวันที่ 6 พฤษภาคม ปี ค.ศ. 1527
(จักรพรรดิชาร์ลที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมัน)
ในเวลานั้น จักรพรรดิชาร์ลที่5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศํกสิทธิ์ได้ทำสงครามกับเหล่าพันธมิตรแห่งคอนแนค (Connac Leaque) อันประกอบด้วย ฝรั่งเศส, มิลาน, เวนิซ, ฟลอเรนซ์ และรัฐสันตะปาปา ในตอนนั้น สันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7 ได้ให้การสนับสนุนฝ่ายฝรั่งเศสในความพยายามเปลี่ยนขั้วอำนาจในภาคพื้นยุโรปและต้องการปลดปล่อยรัฐสันตะปาปาจากการควบคุมของจักรวรรดิ ทว่าความพยายามนี้ไร้ผล พระเจ้าชาร์ลสามารถเอาชนะกองทัพของเหล่าพันธมิตรได้ แต่หลังสงคราม พระเจ้าชาร์ลไม่ได้จ่ายเงินให้กับกองทหารรับจ้างตามข้อตกลงทำให้พวกนั้นไม่พอใจ ดังนั้นทหารรับจ้างจำนวนสองหมื่นนายที่ชุมนุมพลอยู่ใกล้กรุงโรมจึงยกกำลังเข้าโจมตีกรุงโรม โดยละเมิดข้อตกลงที่ฝ่ายจักรวรรดิทำไว้กับทางโรมในตอนเช้าของวันที่ 6 พฤษภาคม ปี ค.ศ. 1527 กองทหารรับจ้างชาวสเปนจากกองบัญชาการบนเนินเขากีอานิโคโล ก็ยกกำลังเข้าโจมตีประตูทอริออนี (Torrione Gate) หลังจากการโจมตีอย่างดุเดือดกองทหารสเปนก็บุกฝ่าเข้าไปได้ สำเร็จ กำลังพลฝ่ายโรมแตกพ่ายยับเยิน หน่วยทหารองครักษ์สวิส ยืนรักษาที่มั่นอยู่ตรงเสาโอเบลิก (ปัจจุบันคือบริเวณจตุรัส เซนต์ปีเตอร์) ร่วมด้วยทหารชาวโรมจำนวนเล็กน้อย พวกเขายังคงยืนหยัดต้านทานแม้จะสิ้นหวัง หัวหน้าของทหารองครักษ์สวิส ชื่อ กัสปาร์ รอยส์ (Kaspar Röist) ได้รับบาดเจ็บระหว่างการต่อสู้และถูกฆ่าในที่พักทหารในเวลาต่อมา โดยทหารรับจ้างชาวสเปนต่อหน้าภรรยาของเขา พร้อมด้วยทหารสวิสอีก 189 นายที่พลีชีพในศึกครั้งนั้น มีเพียง 42 นายเท่านั้นที่รอดชีวิต กำลังส่วนหนึ่งที่รอดชีวิต ภายใต้การนำของ เฮอร์คิวลีส โกลด์ลี (Hercules Göldli) ได้คุ้มครอง สันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7 ล่าถอยไปตามเส้นทางลับที่สันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 เคยสร้างไว้ เส้นทางนี้เชื่อมระหว่าง วาติกันกับปราสาท เซนต์ เองเจโล (Castel Sant’Angelo) ซึ่งเป็นที่ที่สันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7 ไปลี้ภัยที่นั่น ในการปล้นสะดมครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิตกว่าหนึ่งหมื่นคน ทรัพย์สินถูกปล้นไปเป็นจำนวนมหาศาลรวมทั้งสุสานของอดีตพระสันตะปาปา ก็ยังถูกทำลายไปด้วย
( จตุรัส เซนต์ปีเตอร์ ในปัจจุบัน )
แม้ว่าการปล้นสะดมในครั้งนี้ ดูเหมือนจะทำให้พระเจ้าชาร์ลได้รับความอับอายและเสียพระพักตร์ที่ไม่อาจทรงควบคุมกองทหารของพระองค์ได้ แต่การณ์กลับเป็นว่าพระองค์เองก็ไม่ได้ทรงไม่พอพระทัยกับสิ่งที่เกิดขึ้นสักเท่าไหร่ เพราะในความเป็นจริงแล้วสิ่งที่ทหารพวกนี้ทำนั้น ก็เป็นการต่อต้านองค์สันตะปาปามากกว่าและพระเจ้าชาร์ลก็อาจทรงเห็นว่านี้คือการให้บทเรียนแก่สันตปาปาที่คิดจะต่อต้านพระองค์ หลังจากนั้นไม่นาน สันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7 ก็ยอมจำนน และทรงใช้ช่วงเวลาที่เหลืออยู่ในชีวิตของพระองค์โดยการหลีกเลี่ยงการกระทำใด ๆ ที่จะสร้างความขัดแย้งกับทางจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
แม้ว่าการปล้นสะดมในครั้งนี้ ดูเหมือนจะทำให้พระเจ้าชาร์ลได้รับความอับอายและเสียพระพักตร์ที่ไม่อาจทรงควบคุมกองทหารของพระองค์ได้ แต่การณ์กลับเป็นว่าพระองค์เองก็ไม่ได้ทรงไม่พอพระทัยกับสิ่งที่เกิดขึ้นสักเท่าไหร่ เพราะในความเป็นจริงแล้วสิ่งที่ทหารพวกนี้ทำนั้น ก็เป็นการต่อต้านองค์สันตะปาปามากกว่าและพระเจ้าชาร์ลก็อาจทรงเห็นว่านี้คือการให้บทเรียนแก่สันตปาปาที่คิดจะต่อต้านพระองค์ หลังจากนั้นไม่นาน สันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7 ก็ยอมจำนน และทรงใช้ช่วงเวลาที่เหลืออยู่ในชีวิตของพระองค์โดยการหลีกเลี่ยงการกระทำใด ๆ ที่จะสร้างความขัดแย้งกับทางจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
( ทหารรับจ้างชาวสวีส )
เห็นสีเจ็บๆแบบนี้ชุดนี้ออกแบบ โดย ลีโอนาโด ดาวินชี่ เชียวนะครับ เครื่องแบบก็ไม่ได้เปลี่ยนมาตั้งแต่สมัยนั้นนั่นแล
( ยุคสมัยเปลี่ยนไป อาวุธก็เปลี่ยนตามปืนไรเฟิลแบบจู่โจม)
อย่างไรก็ตามวีรกรรมที่ยิ่งใหญ่ในการปกป้ององค์สันตะปาปาของเหล่าทหารองครักษ์ชาวสวิสในครั้งนั้น ได้สร้างความประทับใจให้กับทางวาติกันและทำให้ทางวาติกัน ยังคงจ้างทหารสวิส เป็นทหารรักษาการณ์ในวาติกันตราบมาจนถึงปัจจุบัน ทุกวันนี้ในวาติกันมีทหารสวิสรักษาการณ์อยู่ประมาณ 100 นาย และมีการเกณฑ์ทหารใหม่เข้ามาแทนที่กองกำลังที่ลาออกไป โดยผู้ที่จะมาเป็นทหารนั้น ต้องนับถือนิกายโรมันคาทอลิก และต้องผ่านการเกณฑ์ทหารมาแล้ว อีกทั้งยังต้องได้รับการรับรองจากโบสถ์ในท้องถิ่นด้วย และในวันที่ 6 พฤษภาคม ของทุกปี จะเป็นวันที่บรรดาทหารใหม่ทำการปฏิญาณตน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น